พระประวัติ ของ เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท

จากซ้ายไปขวา: เจ้าหญิงเซเตเพนเร, เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเร, และเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท ที่ภาพสลักดูร์บาร์ในปีที่ 12

หลักฐานชิ้นแรกๆ ที่ปรากฏถึงการมีตัวตนของพระองค์คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระราชวังในเมืองอาร์มานาเป็นภาพวาดสีที่บรรยายขณะที่พระองค์กำลังประทับเล่นบนหมอนร่วมกับเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงปีที่ 9 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา โดยมีภาพของพระราชวงศ์ทุกพระองค์รวมถึงเจ้าหญิงเซเตเพนเรในขณะที่เป็นทารก

พระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักภายในหลุมฝังศพหลายๆ แห่งในเมืองอาร์มานา และยังปรากฏบนฐานรูปสลักที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นที่เมืองอาร์มานา แต่ต่อมาก็ย้ายมาที่เมืองเฮลิโอโปลิส โดยกล่าวถึงเทพอาเตนกับฟาโรห์อาเคนาเทน และส่วนฐานของรูปส่วนจะกล่าวถึงพระนางอังค์เอสเอนปาอาเตนกับพระองค์

ในหลุมฝังศพของขุนนางระดับสูงนามว่า ฮูยา ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าเสนาบดีในพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในภาพพระราชวงศ์บนทับหลังบนผนังด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นภาพที่มีฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติอยู่ทางด้านซ้ายร่วมกับพระราชธิดาพระองค์โตสี่พระองค์ ในขณะเดียวทางด้านขวาปรากฏภาพสลักของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระนางติเย ร่วมกับเจ้าหญิงเบเคตอาเทน ส่วนภาพในหลุมฝังศพของเมริเรที่ 2 ปรากฏภาพของพระองค์ร่วมกับพระภคินีและพระขนิษฐาอีกสี่พระองค์ (ยกเว้นเพียงเจ้าหญิงเซเตเพนเรเท่านั้นที่หายไป)

พระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักดูร์บาร์ในปีที่ 12 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา ในหลุมฝังศพของนักบวชชั้นสูงนามว่า เมริเรที่ 2 ในเมืองอาร์มานา โดยเป็นภาพที่ฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติกำลังรับของขวัญจากดินแดนต่างๆ ซึ่งพระองค์กำลังถือสิ่งของที่เสียหายเกินที่จะระบุว่าเป็นอะไร เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเรกำลังอุ้มตัวเนื้อทราย และเจ้าหญิงเซเตเพนเรกำลังอุ้มสัตว์เลี้ยง[4] ซึ่งทั้งสองพระองค์ยืนอยู่ข้างหลังเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน

ทั้งนี้ พระองค์ยังปรากฏบนภาพสลักของปาเนเฮซิ โดยพระองค์ยืนภายในอาคารใกล้หน้าต่าง ในขณะที่ฟาโรห์อเคนาเทนและพระนางเนเฟอร์ติติกำลังให้เกียรติกับผู้เคารพบูชาเทพอาเตนคนแรกนามว่า ปานาเฮซิ และยังปรากฏบนภาพสลักหนึ่งในภายในสุสานเป็นภาพที่พระองค์และพระภคินีอีกสามพระองค์ร่วมกับพระบิดาและพระมารดาแสดงการถวายดอกไม้แด่เทพอาเทน โดยพระราชธิดาทั้งสี่นั้นล้วนแต่ถือช่อดอกไม้[5]

ภาพวาดที่มีพระองค์ร่วมกับเชื้อพระวงศ์